บริหารจัดการอาคาร: ถังดับเพลิงมีกี่ชนิด กี่สี ใช้ดับไฟชนิดใดได้บ้าง เลือกใช้อย่างไรให้ถูกต้องเหมาะสม

บริหารจัดการอาคาร: ถังดับเพลิงมีกี่ชนิด กี่สี ใช้ดับไฟชนิดใดได้บ้าง เลือกใช้อย่างไรให้ถูกต้องเหมาะสม การติดตั้งถังดับเพลิง หรือเครื่องดับเพลิงชนิดมือถือ ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยลดความเสียหาย รวมไปถึงการสูญเสียของทรัพย์สินที่เกิดจากเพลิงไหม้ โดยทุกอาคาร บ้านพัก ที่อยู่อาศัย และโรงงานอุตสาหกรรม จำเป็นต้องมีถังดับเพลิงติดตั้งเพื่อความปลอดภัย และตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้

แม้ว่าถังดับเพลิงจะเป็นอุปกรณ์ที่หลายคนน่าจะเคยเห็นผ่านตากันมาบ้าง แต่ทุกคนทราบหรือไม่ครับ ว่าจริงๆ แล้วชนิดของถังดับเพลิงมีกี่ชนิด หรือ ถังดับเพลิงมีกี่ประเภท ? ทั้งนี้ประเภทของถังดับเพลิงชนิดต่างๆ จะแบ่งตามเชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดเพลิงไหม้ เช่น ไม้ พลาสติก น้ำมัน ก๊าซไวไฟ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

บทความนี้จะทำให้คุณเข้าใจว่าถังดับเพลิงมีกี่ชนิด เพลิงไหม้แต่ละประเภทควรใช้ถังดับเพลิงแบบใด เนื่องจากการใช้ถังดับเพลิงผิดประเภท อาจจะทำให้เกิดอันตรายมากกว่าเดิม พร้อมทั้งช่วยให้คุณเข้าใจคุณสมบัติของถังดับเพลิงแต่ละประเภท และสามารถเลือกถังดับเพลิงให้เหมาะสมกับการใช้งานได้

ประเภทของเพลิงไหม้มีอะไรบ้าง แต่ละ class คืออะไร

ถังดับเพลิงมีกี่ชนิด ? ถังดับเพลิงแบ่งตามการใช้งาน และสาเหตุหลักของการเกิดเพลิงไหม้ที่มีองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความร้อน อากาศ และเชื้อเพลิง ซึ่งเชื้อเพลิงเป็นตัวแปรสำคัญที่กำหนดประเภทเพลิงแต่ละประเภท โดยสามารถแบ่งประเภทเพลิงออกเป็นทั้งหมด 5 ประเภท นั่นคือเพลิง class A, class B, class C, class D และ class K เพลิงแต่ละชนิดมีรายละเอียดดังนี้

1. เพลิงไหม้ประเภท A (Ordinary Combustibles)

เพลิงไหม้ class A มีสาเหตุมาจากเชื้อเพลิงธรรมดาที่ติดไฟง่าย หรือของแข็ง ที่สามารถพบได้ทั่วไปตามอาคาร ที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า เช่น ไม้ ผ้า ขยะ พลาสติก กระดาษ เป็นต้น ซึ่งเพลิงประเภท A สามารถดับได้ด้วยน้ำเปล่า

2. เพลิงไหม้ประเภท B (Flammable Liquids)

เพลิงไหม้ class B มีสาเหตุมาจากเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวที่สามารถติดไฟ และก๊าซที่สามารถติดไฟได้ โดยของเหลวที่สามารถติดไฟมักมีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำมันดิบ น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าซ ที่สามารถพบได้ตามปั๊มน้ำมัน หรือโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น และโรงงานที่ผลิตสีบางชนิด โดยเพลิงประเภท B สามารถดับได้ด้วยการตัดออกซิเจนในอากาศ

3. เพลิงไหม้ประเภท C (Electrical Equipment)

เพลิงไหม้ class C มีสาเหตุมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าไหลเวียนอยู่ เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลเวียนอยู่ตลอดเวลาทำให้เกิดความร้อนสูง หากอุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดอาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าจัดวงจรและเกิดเพลิงไหม้ได้ โดยเพลิงไหม้ประเภท C จำเป็นต้องตัดระบบไฟฟ้าก่อนทำการดับเพลิงทุกครั้ง

4. เพลิงไหม้ประเภท D (Combustible Metals)

เพลิงไหม้ class D มีสาเหตุมาจากโลหะที่สามารถติดไฟได้ ที่สามารถพบได้ตามห้องปฏิบัติการ ห้องทดลอง และโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานโลหะ เช่น Titanium, Aluminium, Potassium และ Magnesium เป็นต้น โดยเพลิงประเภท D ไม่สามารถดับเพลิงได้ด้วยน้ำเปล่า

5. เพลิงไหม้ประเภท K (Combustible Cooking)

เพลิงไหม้ประเภทนี้มีสาเหตุมาจากน้ำมันที่ใช้ในครัว ไขมันสัตว์ ของเหลวที่ใช้ประกอบอาหาร สามารถพบได้ตามห้องครัว ร้านอาหาร หรือห้องอาหารตามโรงแรม เป็นต้น

ประเภทของถังดับเพลิง

ถังดับเพลิงมีกี่ชนิด ? ถังดับเพลิงแต่ละชนิดเหมาะกับการดับเพลิงประเภทใด ? ถือเป็นคำถามที่ได้ยินบ่อยๆ ในความเป็นจริงแล้วการใช้ถังดับเพลิงผิดชนิดอาจทำให้เกิดอันตรายมากกว่าเดิม เนื่องจากสารที่บรรจุในถังดับเพลิงแต่ละประเภทแตกต่างกัน การใช้จึงแตกต่างกัน ดังนั้นควรเลือกถังดับเพลิงให้ถูกประเภทและเหมาะสมกับการใช้งาน โดยถังดับเพลิงประเภทต่างๆ มีดังนี้

ถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2 )
ถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Carbon Dioxide Extinguishers ข้างในถังจะบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อฉีดออกมาจะมีลักษณะเป็นไอเย็นจัด คล้ายกับน้ำแข็งแห้ง ช่วยลดความร้อนของเพลิงไหม้ได้ เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนใหญ่ตัวถังจะมีสีแดง และบริเวณปากหัวฉีดจะกว้างมากกว่าถังดับเพลิงชนิดอื่นๆ

ถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สามารถดับเพลิงไหม้ประเภท B และ C ได้ ถังดับเพลิง Co2 จึงเหมาะสำหรับดับเพลิงในโรงงานขนาดใหญ่ โรงอาหาร และห้องเก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical)
ข้างในถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งจะบรรจุผงเคมีแห้ง และอัดก๊าซไนโตรเจนที่มีคุณสมบัติในการระงับปฏิกิริยาเคมีของการเกิดเพลิงไหม้ได้ เมื่อฉีดออกมาจะมีลักษณะเป็นฝุ่นผงเคมี ฟุ้งกระจายทั่วบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งส่วนใหญ่ตัวถังจะมีสีแดง โดยถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ถือเป็นถังดับเพลิงที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะมีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และสามารถใช้ดับเพลิงไหม้ได้หลายประเภท

ถังดับเพลิงชนิดนี้สามารถใช้ดับเพลิงไหม้ประเภทA, B และ C และเหมาะกับการใช้ภายในอาคาร บ้านพัก ที่อยู่อาศัย และโรงงานอุตสาหกรรม

ถังดับเพลิงชนิดโฟม (Foam Extinguishers)
ถังดับเพลิงชนิดโฟม หรือ Foam Extinguishers ในถังจะบรรจุน้ำผสมโฟมเข้มข้น AR AFFF เมื่อฉีดออกมาแล้วจะมีลักษณะเป็นฟองโฟมปกคลุมเชื้อเพลิงที่ลุกไหม้ ทำให้เพลิงขาดออกซิเจน ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ ถังดับเพลิงชนิดโฟมตัวถังมักมีสีเงิน และหัวฉีดยาวกว่าหัวฉีดถังดับเพลิงประเภทอื่นๆ

ถังดับเพลิงชนิดโฟมสามารถใช้ดับเพลิงไหม้ประเภท A และ B จึงเหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิง และสารระเหยติดไฟ และปั๊มน้ำมัน ข้อควรระวังของถังดับเพลิงชนิดโฟม คือ ไม่สามารถใช้กับเพลิงไหม้ประเภท C ได้ เพราะถังดับเพลิงชนิดโฟมสามารถนำไฟฟ้าได้

ถังดับเพลิงชนิดน้ำ (Water Extinguishers)
ถังดับเพลิงสูตรน้ำ หรือ Water Extinguishers ภายในถังจะบรรจุน้ำธรรมดาและก๊าซ ตัวถังมักเป็นสีฟ้า หรือ สีเงิน อาจจะทำให้สับสนกับถังดับเพลิงชนิดโฟม ควรระมัดระวังในการเลือกซื้อใน ถังดับเพลิงประเภทนี้สามารถใช้ดับเพลิงไหม้ประเภท A ได้ จึงเหมาะกับภายในอาคาร บ้านพัก ที่อยู่อาศัย

ถังดับเพลิงสูตรน้ำ (Low Pressure Water Mist)
ถังดับเพลิงสูตรน้ำ หรือ ถังดับเพลิงสูตรละอองน้ำแรงดันต่ำ PurePlus ถังดับเพลิงชนิดนี้พิเศษกว่าถังดับเพลิงชนิดน้ำ สามารถดับเพลิงไหม้ได้มากถึง 4 ประเภท ได้แก่ เพลิงไหม้ประเภทA, B, C และ K ภายในถังบรรจุน้ำสิทธิ์สูง และน้ำ PurePlus ที่มีคุณสมบัติในการดึงความร้อนออกจากเชื้อเพลิงได้เร็วกว่าการใช้น้ำปกติ ทำให้อุณหภูมิความร้อนลดลงอย่างรวดเร็ว ไม่เป็นสื่อกลางในการนำไฟฟ้า และ น้ำยา PurePlus สามารถยับยั้งกระบวนการ Pyrolysis ของเชื้อเพลิง

อีกหนึ่งคุณสมบัติพิเศษของถังดับเพลิงสูตรน้ำ คือสามารถช่วยป้องกันการปะทุของเพลิงไหม้ซ้ำ เหมาะสำหรับติดตั้งไว้ที่ อาคารสำนักงาน บ้านพัก โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม และสถานที่ทั่วไป

ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย (Clean Agent)
ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหยในถังจะบรรจุสารฮาโลตรอน (Halotron) หรือสาร HFC-236fa (FE-36) ซึ่งในปัจจุบันนิยมใช้สาร HFC-236fa มากกว่าเนื่องจากมีคุณสมบัติเทียบเท่ากับสารฮาโลตรอน ไม่ทิ้งคราบตกค้าง ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ทำลายบรรยาอากาศ โดยตัวถังจะมีลักษณะเป็นสีเขียว เพื่อเป็นการบอกว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผู้ใช้งาน

ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหยสามารถใช้ดับเพลิงไหม้ประเภทA, B, C จึงเหมาะกับการใช้งานในห้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าสูง หรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรือ เครื่องบิน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ถังดับเพลิง wet chemical (ดับไฟ class k)
ถังดับเพลิง wet chemical class k ภายในถังจะบรรจุสารดับเพลิง Potassium Acetate สำหรับใช้ดับเพลิงประเภท K หรือเพลิงไหม้ที่เกิดจากน้ำมันที่ใช้ในการประกอบอาหาร ไขมันสัตว์ ถังดับเพลิงประเภทนี้จึงเหมาะกับการดับเพลิงในครัว ร้านอาหาร โรงอาหาร เป็นต้น

ทั้งนี้มีหลายคนที่ถามว่าถังดับเพลิงมีกี่ขนาด หรือ ถังดับเพลิงมีกี่ปอนด์ ? ขนาดของถังดับเพลิงชนิดมือถือมีหลายขนาดเพื่อให้เหมาะสมกับสถานที่และการใช้งาน มีตั้งแต่ขนาด ถังดับเพลิงขนาด 2 ปอนด์, 5 ปอนด์, 10 ปอนด์, 15 ปอนด์, 20 ปอนด์, 50 ปอนด์ และ 110 ปอนด์