Social listening : เทคนิคง่ายๆ ในการทำ Customer Persona เบื้องต้น

Social listening : เทคนิคง่ายๆ ในการทำ Customer Persona เบื้องต้น ถ้าแบรนด์อยากขายสินค้าบริการให้ได้ก็จะต้องเข้าใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้ได้แบบลึกซึ้ง ซึ่งจะต้องเริ่มจากการทำ Customer Persona หรือลักษณะของว่าที่ลูกค้าขึ้นมาเสียก่อน บทความในวันนี้เป็นการแนะนำเทคนิคที่จะทำให้เจ้าของธุรกิจหรือนักการตลาดสามารถเข้าใจได้ว่าลูกค้าของคุณเป็นคนที่มีลักษณะแบบไหน พวกเขาเหล่านั้นกำลังคิดอะไรอยู่ มีความชอบหรือไม่ชอบอะไรกันแน่ เพื่อที่แบรนด์จะได้เสนอขายสินค้าบริการได้ตรงใจจนสร้างยอดขายได้มากขึ้นค่ะ

ชนะใจลูกค้าด้วยการทำ Customer Persona
ทุกวันนี้ในตลาดมีคู่แข่งเกิดขึ้นมากมาย ลูกค้าเลยมีตัวเลือกให้ซื้อมากขึ้น

แถมลูกค้าแต่ละกลุ่มก็มีความต้องการ มีความสนใจ มีพฤติกรรมที่ไม่เหมือนกัน

ตัวอย่างเช่น คนอายุ 17 รายได้ 6,000 บาท ย่อมต้องมีความสนใจ และกำลังซื้อต่างจากคนอายุ 30 รายได้ 35,000 บาท

เพราะแบบนี้ การที่หว่านคอนเทนต์ขายสินค้าบริการให้ลูกค้าแบบกว้างๆ จะทำให้แบรนด์ไม่สามารถดึงความสนใจของลูกค้าได้เลยสักกลุ่ม แล้วก็จะได้ยอดขายกลับมาไม่ได้เท่าที่ตั้งไว้ด้วยเช่นกัน

การทำ “Customer Persona” เลยจำเป็นในการเข้ามาช่วยจัดกลุ่มลักษณะของว่าที่ลูกค้าแยกเป็นแต่ละประเภทค่ะ

องค์ประกอบของ Customer Persona

ข้อมูลลักษณะของว่าที่ลูกค้าอาจประกอบไปด้วย

-ข้อมูลพื้นฐาน: อายุ, เพศ, อาชีพ, การศึกษา, สถานภาพ, รายได้, ภาษา, ที่อยู่อาศัย
-ความต้องการ: อยากมี อยากได้อะไร, เป้าหมายในชีวิต
-ปัญหา: ความคับข้องใจ, ปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
-ความชอบ: การเสพคอนเทนต์, เว็บไซต์, สื่อ, อินฟลูเอนเซอร์, อีเวนต์, แนวการใช้คำพูดที่ชอบ
-ไลฟ์สไตล์: งานอดิเรก, การใช้ชีวิตประจำวัน
-พฤติกรรม: ช่องทางการใช้โซเชียลมีเดีย, การตัดสินใจซื้อสินค้าบริการ, การเข้าไปมีส่วนร่วมกับเพจ

ด้วยการใช้เครื่องมือ Mandala Analytics แบรนด์จะได้ข้อมูลเชิงลึกบนโซเชียลมาทำ Customer Persona เพื่อมัดใจลูกค้าได้อยู่หมัดได้แบบสะดวกรวดเร็ว แถมยังไม่ต้องเสียทั้งเวลา และเงินจำนวนมากในการออกไปทำแบบสอบถาม

เท่านี้แบรนด์ของคุณก็สามารถนำข้อมูลไปทำ Persona ในการจัดกลุ่มของลูกค้า เพื่อให้ทีมของคุณนำไปต่อยอดสร้างไอเดียใหม่ๆ ในการโปรโมทไปยังกลุ่มคนเหล่านั้นโดยเฉพาะ และได้ยอดขายกลับมาจากการตลาดที่ตรงใจ